วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สุขภาพอนามัยทางเพศ

                                                                                      


    สุขภาพอนามัยทางเพศ เป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงกันมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นผลมาจากโลกา- ภิวัฒน์ ที่มีผลกระทบต่อแนวคิดของทั้งวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ จนทำให้พบว่าเรื่องของปัญหาทางเพศ เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้นด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากการที่มีความรู้เรื่องเพศ ที่ยังไม่ถูกต้อง และไม่มีการย้ำสำนึกรับผิดชอบต่อพฤติกรรมทางเพศของตนเอง ก่อนที่จะกล่าวถึงปัญหา ทางเพศนั้น องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของการมีสุขภาพอนามัยทางเพศเป็น 3 ประเด็นใหญ่ๆ ในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ส่วนประเด็นของจิตวิญญาณ (spiritual) นั้นก็เริ่มมีการกล่าวถึงกันบ้าง ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับจิตสำนึกที่ถูกต้อง ที่ดีงามในเรื่องเพศ ดังนั้นการมีสุขภาพอนามัยทางเพศ จึงอาจ จัดกลุ่มให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้



มีความสามารถที่จะเป็นสุข และควบคุมพฤติกรรมทางเพศของตนเองให้สอดคล้องกับจรรยาของสังคม และไม่ละเมิดศีลธรมของผู้อื่น 

ปราศจากความรู้สึกกลัว อับอาย ละอายใจ ความหลงผิด และสภาวะทางจิตใจ ที่ยับยั้งการตอบสนอง ทางเพศ และทำให้สัมพันธภาพทางเพศเสื่อมลง 

ปราศจากความผิดปกติทางร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บและความบกพร่องต่างๆ ที่จะขัดขวางการทำหน้าที่ ทางเพศ 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การมีสุขภาพอนามัยทางเพศจะต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ แต่ถ้ามีองค์ ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งผิดปกติ ก็ถือว่าไม่มีสุขภาพอนามัยทางเพศ การไม่มีสุขภาพอนามัย ทางเพศ ก็จะก่อให้เกิดปัญหาทางเพศตามมา ซึ่งก็พบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ดังนั้นการสอนเพศศึกษา จะต้องให้เห็นถึงความสำคัญของการมีสุขภาพอนามัยทางเพศ

ปัญหาสุขภาพอนามัยทางเพศ (Sexual health problems)



โดยที่สุขภาพอนามัย (well-being and free of diseases) เป็นภาวะทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม จึงแบ่งปัญหาสุขภาพอนามัยทางเพศได้เป็น 3 ประเด็น



ปัญหาทางร่างกาย ได้แก่ การเจริญเติบโตทางร่างกายที่ผิดปกติหรือไม่สมบูรณ์ ทำให้การระบุเพศ หรือการกระทำหน้าที่ทางเพศผิดปกติหรือไม่สมบูรณ์ เช่น ภาวะอวัยวะเพศกำกวม (ambiguous genitalia), ภาวะเทอร์เนอร์ (Turner\'s syndrome), ภาวะ Mullerian agenesis, hypospadias เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุได้จาก พันธุกรรมผิดปกติ (genetic disorders), โครโมโซมผิดปกติ, congenital adrenal hyperplasia นอกจากนี้ยังมีโรคที่มาเกิดในภายหลัง จนทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ทุพพลภาพได้ เช่น เนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูก มะเร็งของปากช่องคลอด มะเร็งของอวัยวะเพศชาย อวัยวะเพศชายแข็งตัวนานผิดปกติ (priapism) เป็นต้น หรือเป็นโรคที่ทำให้การกระทำหน้าที่ทางเพศผิดปกติ เช่น โรคเบาหวาน โรคตับแข็ง เป็นต้น หรือการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุของผู้หญิง (menopause) ทำให้ช่องคลอดแห้งและบางเวลาร่วมเพศ จะมีอาการเจ็บปวดหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการมีพฤติกรรมทางเพศ 

ปัญหาทางจิตใจ ได้แก่ ความไม่ชอบ ความกลัว ความไม่เหมาะสมของตัวกระตุ้นให้เกิดอารมณ์เพศ เช่น กลุ่ม sexual disorder อันได้แก่ รักร่วมเพศ (homosexual) ชนิด ego-dystonia ซึ่งเป็นพัฒนาการที่ไม่เหมาะสมของ sexual orientation จนทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจ (ego-dystonia) หรือจิตสำนึกผิดเพศ (transexualism) ซึ่งเป็นพัฒนาการผิดปกติของ gender identity นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพิศวาสผิดธรรมชาติ (paraphilias) เช่น ลักเพศ (transvestism) ถ้ำมอง (voyeurism) ชอบอวดอวัยวะเพศ (exhibitionism) พิศวาสวัตถุ (fetishism) พิศวาสเด็ก (pedophilia) พิศวาสทารุณ (sadism) พิศวาสความเจ็บปวด (masochism) เป็นต้น สาเหตุอาจจะเป็นจากการพัฒนาบุคลิกภาพที่ผิดปกติ (personality disorder) หรือโรคประสาท (neurosis) หรือโรคจิต (psychosis) อีกกลุ่มคือ การตอบสนองทางเพศไม่สมบูรณ์ (psychosexual dysfunction) อาจเกิดจากความไม่ชอบ ความกลัว ความหลงผิด เป็นต้น 

ปัญหาทางสังคม ที่พบบ่อย ได้แก่ การตั้งครรภ์ไม่วางแผนและการตั้งครรภ์ไม่ปรารถนา การแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากความสำส่อนทางเพศ การละเมิดสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางเพศ เช่น อาชญากรรมทางเพศ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น