PAIN CHECKLIST อาการปวดบอกโรคได้
อาการปวดเกิดจากประสาทสัมผัสรับความรู้สึก (sensory modality) ที่ร่างกายมีอยู่ตามปกติ เป็นสัญญาณบอกอันตรายที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกร่างกาย หรือกำลังประท้วงว่าคุณใช้งานร่างกายหนักเกินไป คนที่เกิดมาแล้วไม่มีความรู้สึกปวดเลย เช่น ภาวะ hereditary sensory autonomic neuropathy จะอายุไม่ยืนเพราะไม่มีกลไกสำคัญในการป้องกันตัวเองจากโรคติดเชื้อ บาดแผล หรือแม้กระทั่งความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้
ปวดหัวแบบไหนที่ไม่ธรรมดา
อาการปวดหัวไม่ใช่การปวดที่สมองโดยตรง แต่อาจเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและคอหดตัว โดยทั่วไปเป็นแล้วหายเองได้ แต่ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นและปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ควรไปพบแพทย์
สิ่งที่คุณควรบอกแพทย์เมื่อปวดหัวคือ

อาการปวดหัวไม่ใช่การปวดที่สมองโดยตรง แต่อาจเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและคอหดตัว โดยทั่วไปเป็นแล้วหายเองได้ แต่ถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้นและปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ควรไปพบแพทย์
สิ่งที่คุณควรบอกแพทย์เมื่อปวดหัวคือ
- รูปแบบการปวด - ปวดทันทีแบบไม่เคยเป็นมาก่อน - ปวดเป็นๆหายๆ - ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ
- ประวัติการปวด - ปวดเป็นครั้งแรก - เคยปวดแบบนี้มาก่อนแล้ว - เป็นๆ หายๆ
- ตำแหน่งที่ปวด - ขมับ - กลางหัว - ทั้งหัว - ท้ายทอย - ด้านซ้าย - ด้านขวา - ปวดต่อเนื่องไปที่คอ สะบัก แขน ไหล่ หรือหลัง - อื่นๆ
- ช่วงเวลาการปวด - เช้า - กลางวัน - เย็น - กลางคืน - ไม่เป็นเวลา
- ระยะเวลาปวด - 30 นาที - 1-2 ชั่วโมง - ทั้งวัน - ไม่แน่นอน - อื่นๆ
- อาการปวด - ปวดแบบหนักหัว เหมือนถูกบีบรัดหัว - ปวดแบบมึน - ปวดและเจ็บตามหนังศีรษะ เส้นผม - ปวดเมื่อต้องใช้สายตาเพ่งมอง - อื่นๆ
- อาการร่วม - มีไข้ - คอแข็ง - คลื่นไส้ อาเจียน - เห็นแสงระยิบระยับในตา - มีน้ำมูก ปวดโพรงไซนัส
อาการ : ปวดหัวรุนแรง ไม่มีไข้ หรือปวดหัวรุนแรงหลังเกิดอุบัติเหตุ
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : อุบัติเหตุที่ศีรษะ เลือดออกในศีรษะ ความดันสูง เส้นเลือดโป่งพอง
อาการ : ปวดหัวเฉียบพลันรุนแรงมากจนทนไม่ได้ มีอาการทางระบบประสาท เช่น มือสั่น สูญเสียความจำ เคลื่อนไหวลำบาก
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : โพรงในสมองโต (มีน้ำในสมอง) เนื้องอก และเลือดออกในสมอง
อาการ : ปวดหัวรุนแรง มีไข้สูง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียนสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
อาการ : ปวดหัวเป็นประจำ ไม่โปร่งหัว ตึงหัว หนักหัว ปวดท้ายทอย บางครั้งปวดหัวตุ๊บๆ
ปวดหัวจากความเครียด (Tension headache)
อาการ : ปวดหัวแบบเป็นๆ หายๆ เวลาปวดปวดมาก แต่เวลาหายก็หายสนิท มีรูปแบบการปวดแน่นอน คือค่อยๆ ปวดจนพีค แล้วปวดหัวตุ๊บๆ จากนั้นจึงอาเจียน ก่อนปวดหัว อาจเห็นแสงระยิบระยับในตา มองเห็นตัวหนังสือยึกยักร่วมด้วยสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ไมแกรน
อาการ : ปวดคล้ายปวดหัวจากความเครียด หรือไมแกรน ที่สำคัญมักมีอาการเจ็บและปวด เวียนหัว ตามัว เจ็บหนังศีรษะ แตะผมแล้วเจ็บ เจ็บเวลากลอกตา บางครั้งแขนขาอ่อนแรง หรืออาจปวดลามไปที่คอ สะบัก แขน ไหล่ หรือหลังด้วยสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ปวดหัวจากเส้นประสาทอักเสบ
อาการ : ปวดหัว ร่วมกับมีน้ำมูกไหล มีกลิ่นปาก ปวดโพรงไซนัสสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ปวดหัวจากไซนัส
อาการ :ปวดหัวเมื่อใช้สายตานานๆ ปวดหัวรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ปวดหัวจากตา ได้แก่ ต้อหิน สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง
ปวดท้องแบบไหนที่ไม่ธรรมดา
อาการปวดท้องที่ต้องพบแพทย์ทันที คือ ปวดท้องเฉียบพลัน รุนแรง ความดันต่ำ เป็นลม ไข้ขึ้น มีเลือดออกร่วมด้วย (อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระมีสีดำ) ซึม ไม่รู้สึกตัว และมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
สิ่งที่คุณต้องบอกแพทย์เมื่อปวดท้อง คือ รูปแบบการปวด ประวัติการปวด ช่วงเวลาการปวด ระยะเวลาปวด เช่นเดียวกับการเช็คอาการปวดหัว รวมทั้ง..
อาการปวดท้องที่ต้องพบแพทย์ทันที คือ ปวดท้องเฉียบพลัน รุนแรง ความดันต่ำ เป็นลม ไข้ขึ้น มีเลือดออกร่วมด้วย (อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระมีสีดำ) ซึม ไม่รู้สึกตัว และมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
สิ่งที่คุณต้องบอกแพทย์เมื่อปวดท้อง คือ รูปแบบการปวด ประวัติการปวด ช่วงเวลาการปวด ระยะเวลาปวด เช่นเดียวกับการเช็คอาการปวดหัว รวมทั้ง..
- ตำแหน่งที่ปวด - ทั้งท้อง - ซ้ายบน - ซ้ายล่าง - ขวาบน - ขวาล่าง - ข้างซ้าย - ข้างขวา - อื่นๆ
- อาการ - ปวดเกร็งๆ เป็นพักๆ - ปวดแสบ - ปวดมวน - อยากถ่าย - ปวดแบบลำไส้ถูกบิด - อื่นๆ
- อาการร่วม - อึดอัด แน่นท้อง - ท้องร่วง ท้องเสีย - มีไข้ - ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน - รู้สึกเหมือนมีอะไรติดคอ - คลื่นไส้อาเจียน - แสบร้อนหน้าอก - ตาเหลือง ตัวเหลือง
- สิ่งกระตุ้นอาการปวด - ความหิว - แอลกอฮอล์ - ชา กาแฟ - อาหารมันเลี่ยน - อื่นๆ
- สิ่งที่ทำให้รู้สึกดีขึ้น - การกินอาหาร - นอนพัก - นั่งงอตัว - อื่นๆ เช่น ยาแก้ปวด ยาเคลือบกระเพาะ ฯลฯ
อาการ : ปวดหรือจุกเสียดช่องท้องส่วนบน อึดอัด แน่นท้อง หรือท้องเฟ้อแม้กินอาหารเข้าไปเพียงเล็กน้อย
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : การย่อยอาหารไม่ดี
อาการ : ปวดท้อง ท้องเสีย มีไข้ อาเจียน มีเลือดปนในอุจจาระสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : อาหารเป็นพิษ
อาการ : ปวดท้องแบบแสบ ปวดทั้งก่อนและหลังกินอาหาร เป็นๆหายๆ จุกเสียดแน่นท้อง และอาจมีคลื่นไส้อาเจียนสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : กระเพาะอาหารเป็นแผล
อาการ : คล้ายเป็นแผลในกระเพาะ กลืนอาหารแล้วติดคอ จุก ไอกลางดึกโดยเหมือนมีอะไรติดคอ แสบร้อนหน้าอก ไอเรื้อรังสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : กรดไหลย้อน
อาการ : ปวดท้องเฉียบพลัน ปวดท้องด้านล่างขวา จุกเสียดลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน หากเป็นไส้ติ่งแตก อาจมีไข้ร่วมด้วย
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ไส้ติ่งอักเสบ
อาการ : ปวดท้องรุนแรง ปวดเกร็งช่องท้องบนขวา ปวดร้าวถึงด้านหลัง ท้องอืดหลังอาหารมื้อหนัก 1/2 - 1 ชั่วโมง และมีอาการ 2-3 ชั่วโมง คลื่นไส้ อาเจียน
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : นิ่วในถุงน้ำดี
อาการ : ปวดท้องแบบเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
อาการ : ปวดท้องเฉียบพลันรุนแรงมาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อาจถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
อาการ : ปวดท้องเฉียบพลันรุนแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และมีไข้
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ฝี หนองในตับ
อาการ : ปวดท้อง แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อย น้ำหนักลด กินอาหารไม่ได้ อาเจียน อาการแย่ลงเรื่อยๆ
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : เนื้องอกในกระเพาะอาหาร
อาการ : ปวดท้องแบบบีบๆ อยากถ่าย ปวดเป็นพักๆ ท้องอืด แน่นท้อง ท้องเสีย อาเจียน มีไข้ มีอาการไม่เกิน 7 วันสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน
อาการ : ปวดท้องเรื้อรังแบบเป็นๆ หายๆ ถ่ายเป็นมูกเลือด ท้องเสีย ปวดท้องนานเกิน 3 สัปดาห์สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ลำไส้อักเสบเรื้อรัง
อาการ : ปวดท้องแบบเฉียบพลัน ปวดท้องมาก คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะขัด ยาก และมีเลือดปน ไข้ขึ้นสูง
สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : นิ่วในไต
อาการ : ปวดท้องเฉียบพลัน รุนแรง ปวดร้าวไปถึงด้านหลัง ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นสูงและต่ำลงอย่างรวดเร็วสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ : ปวดท้องเฉียบพลันจากหลอดเลือดแดงใหญ่ปริหรือแตก
ปวดหลังแบบไหนที่ไม่ธรรมดา
อาการปวดหลังส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงและหายเองได้ แต่อาการปวดหลังที่เป็นไข้หรือความผิดปกติของระบบปัสสาวะด้วย หรือปวดแบบไม่ทุเลาแม้จะนอนพักแล้วก็ตาม เจ็บปวดแบบเฉียบพลันแบบไม่รู้สาเหตุ อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ได้มาจากกล้ามเนื้อและข้อ เช่น
อาการปวดหลังส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงและหายเองได้ แต่อาการปวดหลังที่เป็นไข้หรือความผิดปกติของระบบปัสสาวะด้วย หรือปวดแบบไม่ทุเลาแม้จะนอนพักแล้วก็ตาม เจ็บปวดแบบเฉียบพลันแบบไม่รู้สาเหตุ อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ได้มาจากกล้ามเนื้อและข้อ เช่น
- เนื้องอกของกระดูกสันหลัง หรือมะเร็งที่กระจายมาที่กระดูกสันหลัง
- ความผิดปกติของอวัยวะภายใน แล้วมีอาการปวดร้าวไปถึงหลัง เช่น นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
- การอักเสบหรือมีการติดเชื้อ เช่น วัณโรคกระดูกสันหลัง
สิ่งที่คุณต้องบอกแพทย์เมื่อปวดหลัง คือ รูปแบบการปวด ประวัติการปวด ช่วงเวลาการปวด ระยะเวลาปวด เช่นเดียวกับการเช็คอาการปวดหัว รวมทั้ง..
- ตำแหน่งที่ปวด - ปวดทั้งแผ่นหลัง - กลางกระดูกสันหลัง - ปวดเอว - กดกล้ามเนื้อแผ่นหลังแล้วเจ็บ - อื่นๆ
- อาการ - ปวดเมื่อยตามตัว - ปวดตามกล้ามเนื้อ - ปวดร้าวหลังและไหล่ - อื่นๆ
- อาการร่วม - มีไข้ - ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน - รู้สึกเหมือนมีอะไรติดคอ - คลื่นไส้อาเจียน - เบื่ออาหาร - ความดันเลือดสูง - อื่นๆ
อาการ : ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อตึงตัว เคลื่อนไหวลำบาก หลังยกของหรือทำงานหนัก
โรค : ปวดหลังแบบธรรมดา
อาการ : ปวดเสียว กล้ามเนื้อกระตุก ปวดเหมือนไฟฟ้าช็อต
โรค : เส้นประสาทอักเสบ
อาการ : มีไข้สูงลอย 2-7 วัน ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่มีอาการไอ เจ็บคอ มีจุดแดงขึ้นตามตัว
โรค : ไข้เลือดออก
อาการ : มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เจ็บหน้าอก รู้สึกอ่อนเพลียโรค : ไข้หวัดใหญ่
อาการ : ปวดหลัง ปวดเอว มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดแสบปวดร้อนขณะถ่ายปัสสาวะโรค : ไตและกรวยไตอักเสบ
อาการ : ปวดเหนือบั้นเอวทั้งสองข้าง อาจคลำพบก้อนบริเวณไต มีเลือดปนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง
โรค : ถุงน้ำในไต
อาการ : ครั่นเนื้อครั่นตัว ทางเดินอาหารผิดปกติ มีไข้ ปวดรุนแรงและเรื้อรังตามเส้นประสาท มีผื่นแดงและตุ่มน้ำขนาดเล็ก
โรค : งูสวัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น