สาเหตุของการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ | |
![]()
สาเหตุของการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ
อาการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ เกิดได้จาก
1. กล้ามเนื้อที่ต้องทำงานหนักและถูกเกร็งค้างอยู่นานๆ โดยจะพบอยู่บ่อยๆ เช่น การเกร็ง ในการสะพายกระเป๋าทุกครั้งเพื่อไม่ให้ประเป๋าหลุดลงจากบ่า เลยต้องมีการเกร็งกล้ามเนื้อบ่าอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่ได้ใช้แรงจากกล้ามเนื้อมากนักแต่เป็นการเกร็งค้าง จึงมีการบีบกดของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ทำให้การนำออกซิเจนมาช่วยในการเผาผลาญสารอาหารทำได้ไม่เต็มที่ เมื่อร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการนี้ จึงทำให้เกิดการคั่งของกรดแล็กติก ถ้าไม่ได้ระบายออกด้วยการไหลเวียนของเลือด จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าได้ กล้ามเนื้อที่มีอาการปวดล้าได้ง่ายได้แก่ กล้ามเนื้อ บริเวณบ่า คอด้านหลัง และหลังส่วนล่าง 2. มีภาวะหดสั้นของกล้ามเนื้อ ภาวะเช่นนี้มักจะพบได่ที่กล้ามบริเวณหน้าอก กล้ามเนื้อคอด้านหน้า กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้องอสะโพก การที่เราใช้มือทำงานโดยยื่นออกไปทางด้านหน้าโดยทั่วไปจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกอยู่ในภาวะที่หดสั้นตลอดเวลาจนความยาวของกล้ามเนื้อลดลง เมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้น ในลักษณะที่ยืดยาวออกจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ การนั่งนานจะทำให้เกิดการหดสั้นของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้องอสะโพกที่อยู่ทางด้านหน้าของลำตัวได้ 3. การออกแรงอย่างหนักของกล้ามเนื้อ จะทำให้มีการเกิดการคั่งของกรดแล็กติก ทำให้กล้ามเนื้อล้าและปวด อาการปวดจะไปกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกร็งแข็งโดยอัตโนมัติ แต่หากไม่ได้มีการผ่อนคลายอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ก็มักจะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้ อาการเช่นนี้มักจะพบได้ในกล้ามเนื้อทุกมัดที่ต้องออกแรงอย่างหนัก วิธีป้องกันการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ ควรอยู่ในท่าทางที่เหมาะสม เช่น ไม่ควรก้มคอหรือหลัง มากเกินไป ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น นั่งนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ควรจะปรับกิจกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งค้างตลอดเวลา เช่น ไม่ควรสะพายกระเป๋าที่หนักเกินไป ให้ลดน้ำหนักลงหรือสะพายสลับข้างกันบ้าง หรือใช้มือถือไว้บ้าง เพื่อเปลี่ยนกลุ่มการใช้งานของกล้ามเนื้อ หลังจากปรับสภาพงานหรือเปลี่ยนวิธีการทำงานแล้ว การออกกำลังด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ใช้งานจะช่วยลดการตึงตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความยืดหยุ่น โอกาสที่ความปวดเมื่อยล้าและบาด-เจ็บจากการทำงานจะลดลง ปวดกล้ามเนื้อป้องกันได้ด้วยการยืดเหยียด อาการปวดเมื่อยและอ่อนล้าของกล้ามเนื้อมักพบได้บ่อย ในกลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศและผู้ใช้แรงงาน แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีแก้ไขอาการปวดเมื่อยและล้าของกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม อาจทำให้กลายเป็นอาการปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อ (myofascial pain) หากเกิดอาการปวดเมื่อยล้าการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก็เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะช่วยป้องกันและรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อได้ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น