
จะเห็นได้ว่า ทางภาคเหนือและภาคอีสาน
มีการเสียชีวิตจากโรไตอักเสบมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
บทความที่แล้วละครับ เราเขียนไปในประเด็น สาเหตุของโรคไตอักเสบ
และอาการ ส่วนบทความนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ข้อสังเกตเมื่อไตเสื่อม,
วิธีป้องกันโรคไต, การป้องกันไตไม่ให้เสื่อมไปมากกว่าเดิมและ
การกินอาหารสำหรับผู้ที่ไตเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ครับ
และอาการ ส่วนบทความนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ข้อสังเกตเมื่อไตเสื่อม,
วิธีป้องกันโรคไต, การป้องกันไตไม่ให้เสื่อมไปมากกว่าเดิมและ
การกินอาหารสำหรับผู้ที่ไตเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ครับ
ข้อสังเกตเมื่อไตเสื่อม1. หนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบวม
2. ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง
3. ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่/น้ำล้างเนื้อ
4. ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
5. การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เช่น บ่อย แสบ ขัด ปริมาณน้อย
6. เบื่ออาหาร การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
7. ปวดหลัง คลำได้ก้อน บริเวณไต
8. ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท
9. ความดันโลหิตสูง
...
2. ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง
3. ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่/น้ำล้างเนื้อ
4. ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
5. การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เช่น บ่อย แสบ ขัด ปริมาณน้อย
6. เบื่ออาหาร การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
7. ปวดหลัง คลำได้ก้อน บริเวณไต
8. ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท
9. ความดันโลหิตสูง
...
วิธีป้องกันโรคไตที่สำคัญ ได้แก่
1. กินถั่ว ผัก ผลไม้
2. เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง หรือขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีทอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
3. กินปลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
4. ลดอาหารประเภทผัดๆ ทอดๆ
5. รักษาน้ำหนักไว้ อย่าให้น้ำหนักเกินหรืออ้วน
6. ออกกำลังอย่างน้อยวันละ 30 นาที
7. ไม่สูบบุหรี่
8. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
9. ตรวจเช็คความดันเป็นประจำ (อย่างน้อยทุก 6 เดือน)และเช็คเบาหวานทุกปี
...
2. เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง หรือขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีทอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
3. กินปลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
4. ลดอาหารประเภทผัดๆ ทอดๆ
5. รักษาน้ำหนักไว้ อย่าให้น้ำหนักเกินหรืออ้วน
6. ออกกำลังอย่างน้อยวันละ 30 นาที
7. ไม่สูบบุหรี่
8. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
9. ตรวจเช็คความดันเป็นประจำ (อย่างน้อยทุก 6 เดือน)และเช็คเบาหวานทุกปี
...
การป้องกันไตไม่ให้เสื่อมไปมากกว่าเดิม ทำได้ดังนี้
1. ถ้ามีความดันเลือดสูง ต้องรีบรักษาอย่างเข้มงวด รักษาความดันเลือดไว้ให้ต่ำกว่า 130/80 มม.
2. ถ้าเป็นเบาหวาน ต้องรีบรักษาเข้มงวด ให้น้ำตาลในเลือดไม่เกิน 100 มก./ดล.ไว้เสมอ
3. ถ้ามีไขมันในเลือดสูง ก็ต้องรีบรักษาไขมันในเลือดสูงอย่างเข้มงวด ให้ไขมันเลว (LDL)
ไม่เกิน 100 มก./ดล.
4. ต้องรักษาน้ำหนักไม่ให้อ้วน ให้ได้เป้าหมายน้ำหนักที่คำนวณจากดัชนีมวลกาย
ซึ่งแพทย์จะคำนวณให้ในการตรวจร่างกายประจำปี
5. ถ้าสูบบุหรี่อยู่ ต้องเลิก
6. ดูแลร่างกายอย่าให้ขาดน้ำ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5-2 ลิตร (6-8 แก้ว) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เวลาออกกำลังกายมากหรืออยู่ในที่ร้อนจัดต้องคอยดื่มน้ำให้มาก ถ้าท้องเสีย อาเจียน หรือมีไข้
ต้องรีบรักษา และดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนให้พอ (คำแนะนำนี้ยกเว้นกรณีเป็นโรคไตระยะสุดท้าย
ที่มีอาการบวม ซึ่งแพทย์อาจให้จำกัดน้ำดื่มให้เหลือประมาณเท่าปัสสาวะที่ขับออกมาในแต่ละวัน)
7. หลีกเลี่ยงยาและสมุนไพรโดยไม่จำเป็น เพราะยาและสมุนไพรมีจำนวนมากที่เป็นพิษต่อไต
8. หลีกเลี่ยงการตรวจวินิจฉัยด้วยเอ็กซเรย์ชนิดที่ต้องฉีดสารทึบรังสี เพราะสารเหล่านี้เป็นพิษต่อไต
9. หลีกเลี่ยงการเสียเลือดที่ไม่จำเป็น อย่าเข้ารับการผ่าตัดถ้าเลือกได้ให้เลือกการรักษา
โดยไม่ต้องผ่าตัด
10.ถ้ามีโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่นติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นนิ่ว ปัสสาวะลำบาก
จากต่อมลูกหมากโต ต้องรีบรักษา เพราะถ้าปล่อยไว้อาจทำให้ไตเสียการทำงานมาก
11.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
...
1. ถ้ามีความดันเลือดสูง ต้องรีบรักษาอย่างเข้มงวด รักษาความดันเลือดไว้ให้ต่ำกว่า 130/80 มม.
2. ถ้าเป็นเบาหวาน ต้องรีบรักษาเข้มงวด ให้น้ำตาลในเลือดไม่เกิน 100 มก./ดล.ไว้เสมอ
3. ถ้ามีไขมันในเลือดสูง ก็ต้องรีบรักษาไขมันในเลือดสูงอย่างเข้มงวด ให้ไขมันเลว (LDL)
ไม่เกิน 100 มก./ดล.
4. ต้องรักษาน้ำหนักไม่ให้อ้วน ให้ได้เป้าหมายน้ำหนักที่คำนวณจากดัชนีมวลกาย
ซึ่งแพทย์จะคำนวณให้ในการตรวจร่างกายประจำปี
5. ถ้าสูบบุหรี่อยู่ ต้องเลิก
6. ดูแลร่างกายอย่าให้ขาดน้ำ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5-2 ลิตร (6-8 แก้ว) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เวลาออกกำลังกายมากหรืออยู่ในที่ร้อนจัดต้องคอยดื่มน้ำให้มาก ถ้าท้องเสีย อาเจียน หรือมีไข้
ต้องรีบรักษา และดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนให้พอ (คำแนะนำนี้ยกเว้นกรณีเป็นโรคไตระยะสุดท้าย
ที่มีอาการบวม ซึ่งแพทย์อาจให้จำกัดน้ำดื่มให้เหลือประมาณเท่าปัสสาวะที่ขับออกมาในแต่ละวัน)
7. หลีกเลี่ยงยาและสมุนไพรโดยไม่จำเป็น เพราะยาและสมุนไพรมีจำนวนมากที่เป็นพิษต่อไต
8. หลีกเลี่ยงการตรวจวินิจฉัยด้วยเอ็กซเรย์ชนิดที่ต้องฉีดสารทึบรังสี เพราะสารเหล่านี้เป็นพิษต่อไต
9. หลีกเลี่ยงการเสียเลือดที่ไม่จำเป็น อย่าเข้ารับการผ่าตัดถ้าเลือกได้ให้เลือกการรักษา
โดยไม่ต้องผ่าตัด
10.ถ้ามีโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่นติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นนิ่ว ปัสสาวะลำบาก
จากต่อมลูกหมากโต ต้องรีบรักษา เพราะถ้าปล่อยไว้อาจทำให้ไตเสียการทำงานมาก
11.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
...
การกินอาหารสำหรับผู้ที่ไตเสื่อมไปแล้ว ควรถือปฏิบัติดังนี้
ลดอาหารโปรตีนไม่ให้มากเกินไป อาหารในกลุ่มนี้ เช่น เนื้อสัตว์ และถั่วต่างๆ
เป็นเมื่อกินเข้าไปแล้ว ร่างกายจะเผาผลาญให้เป็นหน่วยย่อยๆ
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ แล้วจะเหลือสารประกอบสุดท้ายที่เป็นของเสีย
จำพวกยูเรีย ครีอะตินีน ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องขับออกโดยไต
การกินอาหารโปรตีนมากเกินไป จะทำให้ไตต้องทำงานหนัก
และเกิดการเสื่อมสภาพมากขึ้นได้ง่าย แม้ว่าหลักฐานวิทยาศาสตร์ยังขัดแย้งกันอยู่บ้าง
ในประเด็นว่าการจำกัดโปรตีนช่วยชะลอโรคได้จริงหรือไม่
แต่แพทย์ทั่วโลกยังใช้แนวทางจำกัดโปรตีนเป็นแนวทางรักษาหลักอยู่
ซึ่งต้องทำควบคู่กับการไปพบแพทย์เพื่อเจาะเลือดตรวจเป็นระยะๆ
ให้แน่ใจว่าระดับโปรตีน (เช่นอัลบูมิน) ในเลือดไม่ต่ำกว่าปกติ
เพราะหากเป็นเช่นนั้นจะกลับเป็นผลเสีย ควรเลือกกินโปรตีนที่มีคุณภาพสูง
ที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน เช่นนม ไข่ จะดีกว่าโปรตีนจากพืช
หรือถั่วต่างๆ ที่อาจขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางตัว ทำให้ร่างกายใช้ประโยชน์ได้น้อยและไตต้องขับส่วนใช้ไม่ได้ทิ้งไปเสียมาก
เป็นเมื่อกินเข้าไปแล้ว ร่างกายจะเผาผลาญให้เป็นหน่วยย่อยๆ
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ แล้วจะเหลือสารประกอบสุดท้ายที่เป็นของเสีย
จำพวกยูเรีย ครีอะตินีน ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องขับออกโดยไต
การกินอาหารโปรตีนมากเกินไป จะทำให้ไตต้องทำงานหนัก
และเกิดการเสื่อมสภาพมากขึ้นได้ง่าย แม้ว่าหลักฐานวิทยาศาสตร์ยังขัดแย้งกันอยู่บ้าง
ในประเด็นว่าการจำกัดโปรตีนช่วยชะลอโรคได้จริงหรือไม่
แต่แพทย์ทั่วโลกยังใช้แนวทางจำกัดโปรตีนเป็นแนวทางรักษาหลักอยู่
ซึ่งต้องทำควบคู่กับการไปพบแพทย์เพื่อเจาะเลือดตรวจเป็นระยะๆ
ให้แน่ใจว่าระดับโปรตีน (เช่นอัลบูมิน) ในเลือดไม่ต่ำกว่าปกติ
เพราะหากเป็นเช่นนั้นจะกลับเป็นผลเสีย ควรเลือกกินโปรตีนที่มีคุณภาพสูง
ที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน เช่นนม ไข่ จะดีกว่าโปรตีนจากพืช
หรือถั่วต่างๆ ที่อาจขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางตัว ทำให้ร่างกายใช้ประโยชน์ได้น้อยและไตต้องขับส่วนใช้ไม่ได้ทิ้งไปเสียมาก
กินอาหารให้พลังงานให้พอ เช่น ข้าว แป้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายไปสลาย
เอาโปรตีนในกล้ามเนื้อออกมาใช้ ซึ่งจะเกิดของเสียไปเป็นภาระกับไต
อาหารพวกแป้งบางชนิดที่เกือบจะไม่มีโปรตีนอยู่ด้วยเลย ได้แก่ วุ้นเส้น
ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ สาคู ลอดช่องสิงคโปร์ ซ่าหริ่ม รวมมิตร แป้งข้าวโพด
แป้งมัน อาหารเหล่านี้สามารถกินได้โดยไม่ต้องกังวลถึงปริมาณโปรตีน
ลดอาหารเค็ม เพื่อลดจำนวนโซเดียมจากเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม
น้ำบูดู ซุปก้อน ผงปรุงรสต่างๆ ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายมาก
เอาโปรตีนในกล้ามเนื้อออกมาใช้ ซึ่งจะเกิดของเสียไปเป็นภาระกับไต
อาหารพวกแป้งบางชนิดที่เกือบจะไม่มีโปรตีนอยู่ด้วยเลย ได้แก่ วุ้นเส้น
ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ สาคู ลอดช่องสิงคโปร์ ซ่าหริ่ม รวมมิตร แป้งข้าวโพด
แป้งมัน อาหารเหล่านี้สามารถกินได้โดยไม่ต้องกังวลถึงปริมาณโปรตีน
ลดอาหารเค็ม เพื่อลดจำนวนโซเดียมจากเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม
น้ำบูดู ซุปก้อน ผงปรุงรสต่างๆ ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายมาก
ในกรณีของคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังในระยะท้ายๆที่เจาะเลือดแล้วพบว่ามีการคั่ง
ของโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส แพทย์อาจแนะนำเพิ่มเติมให้ลดเกลือแร่สองตัวนี้
ในเครื่องดื่มและอาหารเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่สองตัวนี้สูงได้แก่ ชา กาแฟ
ช็อกโกแลต โคล่า อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง
ผักที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลืองเข้ม เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี่ ดอกกะหล่ำ
ใบคะน้า ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ แครอท - ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีสีเหลือง
เช่น ส้ม กล้วย ทุเรียน มะม่วงสุก ขนุน มะขามหวาน และผลไม้แห้งทุกชนิด
เช่น ลูกเกด ลูกพรุน ผักที่มีโพแทสเซียมไม่สูงมากและกินได้ เช่น แตงกวา
น้ำเต้า บวบ ฟักเขียว มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ผักกาด อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง
ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง นมสด เนยแข็ง เมล็ดพืช ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น
ลดอาหารที่มีไขมันมากและอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง
ควรกินอาหารที่ปรุงด้วยวิธีการต้ม นึ่ง ย่าง มากกว่าวิธีการทอดหรือผัดที่ใส่น้ำมันมาก รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสัตว์มาก (ยกเว้นปลา)
เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นได้ง่าย
ส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆ เสื่อมได้ง่ายขึ้น
ควรกินอาหารที่ปรุงด้วยวิธีการต้ม นึ่ง ย่าง มากกว่าวิธีการทอดหรือผัดที่ใส่น้ำมันมาก รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสัตว์มาก (ยกเว้นปลา)
เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นได้ง่าย
ส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆ เสื่อมได้ง่ายขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น